ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก ผลงานนักเรียนของ นางสาว สุภานันท์ นิลเพชร์ ได้เลยค่ะ

หิมะ

Read more: http://nanfufu.blogspot.com/2012/05/blog-post_7965.html#ixzz3xlYkYJIl

..

วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2559

บทที่ 7 กฎหมายในชีวิตประจำวัน

๑.กฎหมาย
๑.๑ ความหมายของกฎหมาย
ความหมายของกฎหมายนั้น ได้มีนักปรัชญาและนักกฎหมายให้คำนิยามไว้ต่างกันดังตัวอย่าง เช่น
          จอห์น ออสติน (John Austin) ปรัชญาเมธีทางกฎหมายชาวอังกฤษ อธิบายว่า กฎหมาย คือ คำสั่งคำบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์  ซึ่งบังคับใช้กับกฎหมายทั้งหลาย  ถ้าผู้ใดไม่ปฎิบัติตาม โดยปกติแล้ว ผู้นั้นต้องรับโทษ
          หลวงจำรูญเนติศาสตร์ อธิบายว่า กฎหมาย คือ กฎข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติซึ่งผู้มีอำนาจของประเทศได้บัญญัติขึ้น และบังคับให้ผู้ที่อยู่ในสังกัดของประเทศนั้นถือปฏิบัติตาม

          ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย นักกฎหมาย อธิบายว่า กฎหมาย ต้องแยกออกเป็นกฎหมายตามเนื้อความและกฎหมายตามแบบพิธีเสียก่อน จึงจะสามารถอธิบายความหมายของกฎหมายได้ถูกต้อง  โดยกฎหมายตามเนื้อความ คือ กฎหมายที่บัญญัติมีลักษณะเป็นกฎหมายแท้  ได้แก่  ข้อบังคับของรัฐซึ่งกำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ และกฎหมายตามแบบพิธี คือ กฎหมายที่ออกมาโดยวิธีบัญญัติกฎหมายไม่ต้องคำนึงว่ากฎหมายนั้นเข้าลักษณะ เป็นกฎหมายตามเนื้อความหรือไม่ เช่น พระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี เพราแม้ว่าจะเป็น พระราชบัญญัติ” หรือเป็นกฎหมาย แต่ก็ไม่ได้มีลักษณะเป็นกฎหมายตามเนื้อความแต่ประการใด และมิได้มีข้อความบังคับความประพฤติของพลเมือง  แต่จำเป็นต้องทำเป็นพระราชบัญญัติ  เพื่อให้การใช้เงินแผ่นดินของรัฐบาลหรือฝ่ายบริหารได้รับการพิจารณากลั่นกรองจากรัฐสภาหรือฝ่ายนิติบัญญัติก่อนเท่านั้น  เป็นต้น” อ่านเพิ่มเติม

Image result for กฎหมาย

บทที่ 6รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ความเป็นมาและความสำคัญ

ประเทศเกือบทั้งหมดในโลกย่อมต้องมีรัฐธรรมนูญ เพื่อใช้เป็นเครื่องกำหนดรูปแบบในการปกครองประเทศ ไม่ว่าประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย สังคมนิยม หรือแบบคอมมิวนิสต์ ต่างมีรัฐธรรมนูญตามแบบฉบับของประเทศตนเองทั้งสิ้น สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นรัฐธรรมนูญแบบลายลักษณ์อักษร ประเทศไทยเคยมีทั้งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่จัดทำขึ้นในขณะที่บ้าน เมืองอยู่ในภาวะไม่สงบ หรือหลังจากมีการปฏิบัติรัฐประหารและรัฐธรรมนูญฉบับถาวร โดยรวมทั้งสองประเภทแล้ว ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ ฉบับปัจจุบัน คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 อ่านเพิ่มเติม

Image result for รัฐธรรมนูญ

บทที่5 ระบอบการเมืองการปกครอง

ลักษณะการเมืองการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตย
คือ ระบอบการปกครองตนเองของประชาชน โดยผ่านการเลือกสมาชิกผู้แทนราษฎรไปบริหารและดูแลเรื่องกฎหมาย เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่และโดยการตรวจสอบควบคุมดูแลของประชาชนโดยตรงหรือการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน เช่น การยื่นเสนอหรือแก้ไขกฎหมาย การยื่นถอดถอนนักการเมืองที่ประพฤติมิชอบ การแสดงความคิดในการทำประชาพิจารณ์ การออกเสียงในการทำประชามติ
          ระบอบประชาธิปไตย ระบอบนี้มีลักษณะเด่นอยู่ที่การแข่งขันอย่างเสรีระหว่างกลุ่มหรือพรรคการเมืองต่างๆ เพียงเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนส่วนมากในประเทศให้เป็นรัฐบาล ทำหน้าที่บริหารกิจการต่างๆ ของประเทศตามนโยบายที่กลุ่มหรือพรรคนั้นได้วางไว้ล่วงหน้า ลักษณะเด่นดังกล่าวนี้จะดำรงอยู่ได้ตลอดไปถ้ากลุ่มหรือพรรคการเมืองนั้น ๆ ยึดหลักการประชาธิปไตยเป็นหลักในการต่อสู้แข่งขันทางการเมืองการปกครอง

           

บทที่4 สิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชน
ความหมายของสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชน(Human Rights) หมายถึง สิทธิของความเป็นมนุษย์ ในอดีตยังไม่เป็นที่แพร่หลาย จนภายหลังที่ได้มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติแล้ว คำว่า สิทธิมนุษยชน จึงได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ ในกฎบัตรสหประชาชาติได้กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนไว้หลายแห่ง เช่นในอารัมภบท ได้กล่าวถึงความมุ่งหมายของสหประชาชาติไว้ว่า เพื่อเป็นการยืนยันและให้การรับรองถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ในศักดิ์ศรีและคุณค่าของมนุษยชาติ"
ความสำคัญของสิทธิมนุษยชน
ในยุคโบราณซึ่งเต็มไปด้วยความยากลำบาก ทุกหนแห่งมีความไม่เสมอภาคกัน มนุษย์ถูกแบ่งเป็นชนชั้น ชนชั้นล่างจะถูกเอารัดเอาเปรียบและถูกปฏิบัติเฉกเช่นเดียวกับสิ่งของ สิทธิถูกสงวนไว้สำหรับขุนนางซึ่งเป็นชนชั้นสูงเท่านั้น
ต่อมามนุษย์เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเอง มีเหตุมีผลมากขึ้น จึงเริ่มมีแนวคิดใหม่ๆว่า สิทธิซึ่งแต่เดิมเฉพาะชนชั้นสูงเท่านั้นจึงจะมีได้ สมควรที่จะมอบให้กับประชาชนทุกคน ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดที่ว่า

สิทธิ คือ อำนาจหรือประโยชน์ที่บุคคลพึงมีพึงได้ มีกฎหมายรับรองไว้ และสิทธิจะได้มาตั้งแต่กำเนิดไม่มีใครสามารถพรากเอาไปได้” อ่านเพิ่มเติม


บทที่ 3 การเป็นพลเมืองดีของชาติและสังคมโลก

      ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้นิยามความหมายของกฎหมายไว้ว่า กฎหมายคือ กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้นหรือเกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตามหรือหรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ
      กฎหมายเป็นข้อบังคับที่รัฐหนึ่งๆ ตราขึ้นมาเพื่อใช้กำหนดความประพฤติและระเบียบแบบแผนของพลเมืองที่อยู่ร่วมกันภายในรัฐนั้นและรวมไปถึงบังคับที่รัฐแต่ละรัฐผูกพันต้องปฏิบัติตามพันธกรณีและความร่วมมือที่ให้ไว้ระหว่างกัน เนื่องจากสังคมมีความซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วกว่าในอดีตมาก การควบคุมดูแลโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลจึงไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการมีกฎหมายขึ้นมาเพื่อช่วยในการกำหนดการปฏิบัติจึงมีความจำเป็นสำหรับสังคมทุกระดับ
       กฎหมายจึงมีความสำคัญในการควบคุมพฤติกรรมของบุคคลให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม ช่วยคุ้มครองและรักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงสร้างความสงบเรียบร้อยให้สังคมด้วย การเคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและบุคคลอื่น อ่านเพิ่มเติม


    


บทที่ 2 เรียนรู้วัฒนธรรม

สาระการเรียนรู้
1.ความหมายและความสำคัญของวัฒนธรรม
2.ลักษณะและความสำคัญของวัฒนธรรมไทย
3.การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและแนวทางอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยที่ดีงาม
4.ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล
5.วิธีการเลือกรับวัฒนธรรมสากล
ความหมายและความสำคัญของวัฒนธรรม
Ø ความหมายของวัฒนธรรม
       วัฒนธรรม หมายถึง แบบแผนการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่มนุษย์สร้างขึ้นในแต่ละสังคม ซึ่งแต่ละสังคมจะต้องมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป
       พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้นิยามความหมายของวัฒนธรรมไว้ 2 นัย ดังนี้
       1.สิ่งที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ เช่นวัฒนธรรมไทย,วัฒนธรรมในการแต่งกาย เป็นต้น
       2.วิถีชีวิตของหมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมพื้นบ้าน,วัฒนธรรมชาวเขา เป็นต้น
       วัฒนธรรม เป็นแบบแผนที่ครอบคลุมวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ วัฒนธรรมพื้นฐานและความจำเป็นของมนุษย์ ได้แก่ ภาษา ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ขอบข่ายของวัฒนธรรมแสดงถึงขีดความสามารถของมนุษย์ในการศึกษาเรียนรู้ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆสำหรับการปรับตัว แก้ปัญหา พัฒนาวิถีการดำเนินชีวิต และตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทั้งทางกาย เช่น การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และทางใจ เช่น ศาสนา ประเพณี ความเชื่อต่างๆ เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม
Image result for วัฒนธรรม หมายถึง

บทที่1 สังคมมนุษย์

ปัญหาสังคมไทยและแนวทางการแก้ไข
   
      แม้ว่าสังคมจะมีความร่วมมือปรับเปลี่ยนและแก้ไข เพื่อให้ได้กลไกทางสังคมดำเนินไปอย่างราบรื่น
 แต่บางครั้งบางกรณีอาจเกิดปัญหาหรือข้อขัดแย้งขึ้นทั้งที่เป็นผลมาจากปัจจัยภายในและจากปัจจัย
ภายนอกของสังคม ซึ่งส่งผลให้การทำงานของกลไกทางสังคมไม่เป็นปกติและ
กลายเป็นปัญหาสังคมขึ้นมา   อ่านเพิ่มเติม